มาตรฐานการติดตั้ง EV CHARGER

มาตรฐานการติดตั้ง EV CHARGER

        การติดตั้ง EV charger ที่ผู้ใช้ควรทราบ

เนื่องจาก EV charger ที่ติดตั้งตามบ้าน หรือสถานที่ต่างๆ ต้องใช้กำลังไฟสูง จึงนำพาซึ่งความร้อนสะสม ผู้ติดตั้ง                EV charger จึงควรคำนึงถึงความปลอดภัยในการติดตั้ง เพราะหากมาตรฐานการติดตั้งไม่ถูกต้อง อาจทำให้เกิดเหตุการณ์ที่ทำให้ผู้ใช้งานไม่พึงประสงค์ เช่น เครื่องไม่ทำงาน เบรคเกอร์ทริค สายไฟไหม้ หรือที่แย่ที่สุด หากติดตั้งใกล้สิ่งปลูกสร้างอาจทำให้เกิดเพลิงไหม้ได้

1.การติดตั้ง EV charger ให้เป็นไปตามข้อกำหนดของการไฟฟ้า เราสามารถเลือกการติดตั้งได้ 2แบบ

- แบบต่อจาก MAIN Circuit เดิม คือการติดตั้งโดยใช้ไฟจาก MAIN circuit ชุดเดิมในบ้าน โดยปรับปรุงระบบไฟเดิมให้รองรับจำนวนโหลดทั้งหมด หากเลือก EV charger ขนาด 7.4kW 32A ต้องคำนวนโหลดภายในบ้านว่าเพียงพอต่อการที่จะเพิ่มเติมจากเดิมอีก 32Aหรือมั้ย เพราะหากไม่เพียงพออาจจะมีการดับๆติดๆเมื่อเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านทำงานพร้อมๆกับชาร์จรถ การปรับปรุงไฟบ้านจึงจำเป็นจะต้องมีการประเมิณจากวิศวกรหรือผู้เชี่ยวชาญเมื่อทำการติดตั้งวิธีการนี้ เพราะอาจจะต้องเปลี่ยนสายไฟหรือปรับเบรคเกอร์ให้เหมาะสมกับโหลดใหม่ที่เพิ่มขึ้นจากเดิม

- แบบวงจรที่ 2 คือการขออนุญาติการไฟฟ้าซึ่งได้อธิบาย ข้อกำหนดมาตรฐานวงจรที่2 สำหรับ PEA และ MEA ไว้ด้านล่าง ซึ่งวิธีการนี้ต้องทำการขอมิเตอร์เพิ่มเพื่อรองรับ EV charger อย่างเดียว ซึ่งไม่ต้องไปยุ่งกับ MAIN Circiut ในบ้าน สามารถต่อออกมาจากมิเตอร์ได้เลย

2.มาตรฐานการติดตั้ง EV charger MEA
ข้อกำหนดระหว่างกฟน.สำหรับมาตรฐานวงจรที่2
กฟน. สามารถเพิ่มขนาดมิเตอร์ให้เหมาะสมได้ โดยต่อวงจรขนานกับ MAIN Circuit ในบ้านออกมาจากมิเตอร์ลูกเดียวกัน ทั้งนี้ขนาดโหลดทั้งหมดรวมกันจะต้องไม่เกินขนาดของมิเตอร์

MEA กฟน. (พื้นที่กรุงเทพและปริมณฑล) การไฟฟ้านครหลวง
        สามารถใช้การติดตั้งวงจรที่สอง (กฟน.จะยอมให้ใช้มิเตอร์เพียงตัวเดียวต่อบ้าน) การทำวงจรที่สองจึงต้องขออนุญาติ การไฟฟ้าเพื่อตรวจสอบโหลดและการรอบรับของขนาดมิเตอร์  หากมิเตอร์ที่ใช้ไม่เพียงพอ จะต้องเพิ่มขนาดมิเตอร์เพื่อรองรับตามมาตรฐาน

ค่าเปลี่ยนมิเตอร์ (ราคาอาจเปลี่ยนตามมาตรฐานของการไฟฟ้า)
15/45,30/100     1เฟส   700บาท
15/45,30/100      3เฟส   1500บาท

3. มาตรฐานการติดตั้ง EV charger PEA
PEA กฟภ. การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค(พื้นที่ต่างจังหวัด)
มาตรฐานของกฟภ. อนุญาติให้ติดตั้งมิเตอร์ลูกที่2 สำหรับเครื่อง EV charger เฉพาะ ซึ่งมิเตอร์ลูกที่2ไม่จำเป็นต้องเป็นชนิดเดียวกับตัวแรกก็ได้ นิยมเลือกเป็น TOU(ค่าไฟถูกประมาณ 2บาทกว่าต่อหน่วย ในช่วงเวลา 22.00-09.00 น.ของวันทำงาน (จันทร์-ศุกร์) และช่วงเวลาระหว่าง 00.00-24.00 ของวันเสาร์-อาทิตย์)เพราะชีวิตประจำวันคนส่วนใหญ่จะชาร์จไฟตอนกลางคืน ซึ่งจะเหมาะกับ เครื่องชาร์จ Teison EV charger มีแอพพลิเคชั่นตั้งเวลาอยู่แล้วไม่ต้องติดตั้งอุปกรณ์ใดๆเพิ่ม

ค่าใช้จ่ายในการเพิ่มมิเตอร์ลูกที่2
15/45,30/100 1เฟส 
ธรรมดา700บาท
TOU 3,740 บาท

15/45,30/100 3เฟส 
ธรรมดา 1500บาท
TOU 5,340บาท

       เพื่อให้การใช้งานมีความปลอดภัย ดังนั้น ทางบริษัท คิงเพาเวอร์ อินเตอร์ ซัพพลาย จำกัด จึงให้ความสำคัญกับระบบติดตั้งเป็นอันดับแรก การเตรียมวงจรพื้นฐานเพื่อติดตั้ง เครื่องชาร์จอย่างปลอดภัย มีดังนี้
วงจรที่จ่ายไฟให้เครื่องชาร์จเราเลือกแบรนด์ที่มีมาตรฐาน หรือเลือกรุ่นที่มี RCD Type B ในตัวเครื่อง, ระบบกราวด์,อุปกรณ์ป้องกันตามมาตรฐาน PEA, MEA

วงจรจ่ายให้เครื่องชาร์จต้องแยกกับโหลดอื่นๆ

วงจรย่อยแต่ละวงจรต้องจ่ายไฟให้กับเครื่องชาร์จ1 เครื่อง เท่านั้น สายไฟที่ใช้วงจรย่อยต้องรองรับกระแสไม่ต่ำกว่า 1.25 เท่าของกระแสไฟที่จ่ายให้เครื่องชาร์จ และไม่ต่ำอุปกรณ์ป้องกันต่างๆในวงจรด้วย

สายไฟสำหรับวงจรของเครื่องชาร์จที่ติดตั้งภายนอกอาคาร กำหนดให้ร้อยท่อฝังดินหรือร้อยท่อเกาะผนัง

สำหรับการติดตั้งแบบเต้ารับ ทั้งแบบ โหมด 2หรือโหมด 3 แนะนำให้สูงจากพื้น 0.75เมตร แต่ไม่เกิน 120เมตร

ควรติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันการเสียหายจากการถูกชน


4. การเลือกขนาดสายไฟเพื่อรองรับเครื่องชาร์จรถยนต์ "EV Charger" ไม่ว่าจะเป็นที่บ้านหรือสำนักงาน ผู้ติดตั้งจำเป็นต้องรู้สเป็คของสายไฟ เนื่องจากไฟฟ้าที่ผ่านสายไฟมีกระแสสูงและใช้งานเป็นเวลานาน ดังนั้นมาตรฐานการติดตั้งผู้ใช้งานควรมีความเข้าใจเบื้องต้นดังนี้
ควรเลือกสายไฟให้เพียงพอกับกระแสที่ไหลผ่าน
25 sqmm    รองรับ 123A
16 sqmm    รองรับ 92A
10 sqmm    รองรับ 69A

ดังนั้นหากจะนำมาใช้สำหรับการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่มีขนาด 7.4kw 32A ควรใช้สายไฟที่ขนาด 10sqmmขึ้นไป และเพื่อความปลอดภัยเราเผื่อสเป็คไว้ ซึ่งการติดตั้งของทางบริษัทเรา จะใช้สายไฟ 16 sqmm เรียกได้ว่าครอบคลุมทั้งการระบายความร้อนและรองรับกระแสได้อย่างเพียงพอตามมาตรฐาน

5. การเลือก EV charger
EV charger เป็นอุปกรณ์ที่ให้ไฟฟ้าผ่านและเชื่อมต่อคุยกันกับระบบชาร์จของรถยนต์ การเลือกแบรนด์ที่ใช้งานจึงควรคำนึงถึงระบบภายในที่ได้มาตรฐาน ทั้งวัสดุ ค่าการกันน้ำกันฝุ่น IP65 ระบบตัดไฟเมื่อมีไฟรั่วไฟเกิน ซึ่งแบรนด์ EV charger TEISON เป็นตัวเลือก ที่ทางบริษัท คิงเพาเวอร์ อินเตอร์ ซัพพลาย จำกัด เลือกมาจำหน่าย โดยเครื่อง EV charger นี้มีฟังชั่นครบครัน รวมถึงสามารถเชื่อมต่อแอพพลิเคชั่นได้ ที่ขัดการเรื่องของการตั้งเวลาเปิด-ปิด ที่รองรับทั้ง Wifi และ Bluetooth ทำให้ใช้งานได้สะดวกไม่รบกวนช่วงเวลาพักผ่อน อีกทั้งยังสามารถเก็บประวัติการใช้งานได้ 

6.วิธีการเลือกเซอร์กิตเบรคเกอร์และกันดูด
   แน่นอนว่าไม่ว่าเราจะติดตั้งรูปแบบไหน เราจำเป็นต้องทราบสเป็คของเซอร์กิจเบรคเกอร์ที่ถูกต้อง เพื่อความปลอดภัยในการใช้งาน ในตลาดมี Maincircuit หลากหลายยี่ห้อและหลายแบบ ซึ่งหน้าที่หลักของ Circuit Breaker คือ ป้องกันความเสียหายของเครื่องใช้ไฟฟ้าหรือป้องกันไฟรั่วไฟดูดจากกระแสไฟฟ้าลัดวงจรหรือกระแสไฟฟ้าเกินพิกัด  ดังนั้นเราควรเลือกอุปกรณ์ที่มียี่ห้อที่หน้าเชื่อถือ สามารถป้องกันความเสียหายได้จริง เมื่อเกิดการผิดปกติในวงจรไฟฟ้า ด้ามคันโยกจะมาที่ตำแหน่ง Trip หลังจากทำการแก้ไขวงจรเสร็จจะสามารถโยกกลับเพื่อใช้งานต่อได้

         เซอร์กิตเบรคเกอร์ที่ใช้งานกับ EV charger ตามมาตรฐาน สำหรับใช้ทั่วไปตามอาคารบ้านเรือน และเชิงพาณิชย์ จะเป็นแบบ เซอร์กิตเบรคเกอร์แรงดันไฟฟ้าต่ำ (Low Voltage Circuit Breaker)

Miniature Circuit Breaker (MCB) หน้าที่หลักคือป้องกันกระแสเกิน และกระแสลัดวงจร สิ่งที่เราต้องรู้คือกระแสใช้งาน ซึ่งเราต้องเลือกให้ MCB ทนกระแสมากกว่ากระแสใช้งาน เพราะเมื่อมีกระแสเกินหรือกระแสลัดวงจรมันจะทำการตัดที่ค่ากระแสที่เราเลือก ภายใน 0.003วินาที (ขึ้นอยู่กับยี่ห้อ)

Residual Current Device(RCD) คืออุปกรณ์ป้องกันไฟรั่ว หรือกันดูด
มี 2ประเภท RCCB และ RCBO

เบรกเกอร์กันดูด RCCB ใช้กันไฟรั่วหรือกันดูดเท่านั้น จะไม่สามารถป้องกันไฟฟ้าลัดวงจรหรือ กระแสเกินได้ ต้องใช้งานร่วมกับเบรกเกอร์เสมอ เพื่อป้องกันไฟฟ้าลัดวงจร (Shot circuit) และโอเวอร์โหลด (Overload circuit) กันดูด RCCB มีหลายประเภท เช่น RCD Type A, RCD Type B และ RCD TypeAC ซึ่งหากเลือกติดตั้ง EV charger TEISON จาก บริษัท คิงเพาเวอร์ อินเตอร์ ซัพพลาย จำกัด จะใช้ RCD type B ติดมากับตัวเครื่องเลย 

เบรกเกอร์กันดูด RCBO มีฟังก์ชั่นครบทุกอย่างในตัวเดียว ทั้งใช้ป้องกันกระแสไฟฟ้าลัดวงจร กระแสไฟฟ้าเกิน และเพิ่มการป้องกันไฟดูด ทำงานได้ทันทีที่กระแส 30 mA เบรกเกอร์ชนิดนี้เมื่อเกิดไฟรั่วจะตัดเฉพาะจุด ไม่ตัดวงจรทั้งหมด

บริษัทคิงเพาเวอร์ อินเตอร์ ซัพพลาย จำกัด เน้นเลือกใช้อุปกรณ์ที่มีคุณภาพ และแม้ว่าเครื่อง EV charger Teison จะมี RCD Type B ในตัว การติดตั้ง Main Circuit เราได้เพิ่มเติมกันดูดให้ลูกค้า เพื่อมั่นใจในความปลอดภัย ตรงตามมาตรฐานการติดตั้ง

 

สนใจสอบถามข้อมูล

 

บริษัท คิงเพาเวอร์ อินเตอร์ ซัพพลาย จำกัด

 

Tel: 02-0776505, 098-5847225
Email : sales@kingpowerintersupply.com 

 

 

 

Visitors: 102,777